- การศึกษาทั่วโลกของ ASICS ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 26,000 คน ช่วยเน้นย้ำว่าการเคลื่อนไหวร่างกายมีความสัมพันธ์กับจิตใจ พร้อมค้นพบว่าการออกกำลังกายในช่วงวัยรุ่นมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับสุขภาพจิตในวัยผู้ใหญ่
- ในแต่ละปีที่ออกกำลังกายมากขึ้นในช่วงวัยรุ่นมีส่วนช่วยให้คะแนนสภาวะจิตใจดีขึ้นในวัยผู้ใหญ่ โดยที่ช่วงอายุ 15-17 ปี เป็นช่วงที่ควรมีการออกกำลังกายเป็นประจำมากที่สุด
- อย่างไรก็ตาม ประชากรรุ่นใหม่ต่างเลิกออกกำลังกายก่อนถึงช่วงอายุดังกล่าวและประชากรกลุ่มนี้ยังมีจำนวนมากขึ้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ลอนดอน, April 09, 2024 (GLOBE NEWSWIRE) -- วันนี้ ASICS แถลงผลการศึกษาเกี่ยวกับสภาวะจิตใจทั่วโลกครั้งที่สองของบริษัท ซึ่งช่วยเน้นย้ำว่าการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อสุขภาพจิต และค้นพบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำในช่วงวัยรุ่นส่งผลต่อการมีสุขภาพจิตที่ดีในวัยผู้ใหญ่
การศึกษาครั้งนี้ซึ่งมีผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 26,000 คนจาก 22 ประเทศพบว่ายิ่งออกกำลังมากเท่าใด ยิ่งทำให้คะแนนสภาวะจิตใจสูงขึ้นมากเท่านั้น1 ข้อมูลจากทั่วโลกชี้ว่าผู้ตอบแบบสำรวจที่ออกกำลังกายเป็นประจำ2 มีคะแนนสภาวะจิตใจเฉลี่ยอยู่ที่ 67/100 ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย3 มีคะแนนสภาวะจิตใจที่น้อยกว่า โดยอยู่ที่ 54/100 เท่านั้น
นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้ยังค้นพบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำในช่วงวัยรุ่นส่งผลกระทบโดยตรงต่อจิตใจของคุณเมื่อมีอายุมากขึ้น มีรายงานว่าผู้ที่ออกกำลังกายตลอดช่วงวัยรุ่นมีระดับการออกกำลังและคะแนนสภาวะจิตใจที่สูงกว่าเมื่ออยู่ในวัยผู้ใหญ่ ผลการศึกษาเหล่านี้บ่งชี้ว่าการออกกำลังอยู่เสมอในช่วงวัยรุ่นเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างนิสัยการออกกำลังกายที่ดี ซึ่งติดตัวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ และส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสุขภาพจิตในวัยผู้ใหญ่
อันที่จริงแล้ว การศึกษานี้สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่าช่วงอายุ 15-17 ปี เป็นช่วงที่ควรมีการออกกำลังกายเป็นประจำมากที่สุด และการไม่ออกกำลังกายในช่วงอายุนี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคุณอย่างมีนัยสำคัญในภายหลัง ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำในช่วงอายุ 15-17 ปี พบว่ามีแนวโน้มมากกว่าที่จะยังคงออกกำลังกายเมื่อมีอายุมากขึ้น และมีรายงานว่ามีคะแนนสภาวะจิตใจในวัยผู้ใหญ่ที่สูงกว่าอีกกลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำในช่วงอายุนี้ (64/100 ต่อ 61/100)
เมื่อเทียบกันแล้ว ผู้ตอบแบบสำรวจที่หยุดออกกำลังกายก่อนอายุ 15 ปี มีระดับการทำกิจกรรมและคะแนนสภาวะจิตใจในวัยผู้ใหญ่ต่ำที่สุด 30% ของกลุ่มนี้ยังคงไม่ออกกำลังกายเมื่อเป็นผู้ใหญ่ และเมื่อเทียบกับกลุ่มที่สามารถออกกำลังกายได้ตลอดช่วงวัยรุ่นแล้วพบว่าผู้ตอบแบบสำรวจกลุ่มนี้มีสมาธิแย่กว่า 11%, มีความมั่นใจน้อยกว่า 10%, มีความสงบน้อยกว่า 10% และมีความใจเย็นน้อยกว่า 10%
อันที่จริงแล้ว ในแต่ละปีของการออกกำลังกายในช่วงวัยรุ่นมีส่วนช่วยให้คะแนนสภาวะจิตใจดีขึ้นในวัยผู้ใหญ่ ผู้ที่หยุดออกกำลังกายก่อนถึงอายุ 15 ปี มีคะแนนสภาวะจิตใจเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ 15% ในขณะที่การหยุดออกกำลังในช่วงอายุ 16-17 ปี และช่วงก่อนอายุ 22 ปี ทำให้คะแนนสภาวะจิตใจเฉลี่ยต่ำลง 13% และ 6% ตามลำดับ
สิ่งที่น่าวิตกกังวลจากการศึกษานี้ก็คือการค้นพบช่องว่างระหว่างวัยของการออกกำลังกาย ซึ่งพบว่าประชากรยุคใหม่มีแนวโน้มที่จะออกกำลังกายน้อยลง ประชากรยุคเงียบ (อายุ 78 ปีขึ้นไป) มีจำนวน 57% ที่กล่าวว่าตนออกกำลังทุกวันในวัยเด็ก ในขณะที่มีเพียง 19% เท่านั้นในประชากรกลุ่มเจนซี (อายุ 18-27 ปี) ซึ่งแสดงให้เห็นแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงว่าประชากรยุคใหม่หยุดออกกำลังกายเร็วขึ้นและมีจำนวนมากขึ้นกว่ายุคก่อน ๆ
ข้อมูลทั่วโลกแสดงให้เห็นว่า ประชากรในกลุ่มเจนซีมีคะแนนสภาวะจิตใจต่ำที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 62/100 ในขณะที่ประชากรกลุ่มเบบี้บูมเมอร์มีคะแนน 68/100 และประชากรยุคเงียบมีคะแนน 70/100
ศาสตราจารย์ Brendon Stubbs หัวหน้านักวิจัยด้านการออกกำลังกายและสุขภาพจิตจาก King’s College London กล่าวว่า "การเห็นระดับการออกกำลังกายที่ลดลงในกลุ่มผู้ตอบแบบสำรวจอายุน้อยในช่วงอายุที่สำคัญเช่นนี้นั้นเป็นเรื่องที่น่ากังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการศึกษาค้นพบว่าการทำเช่นนี้สัมพันธ์กับการมีสุขภาพที่แย่ลงในวัยผู้ใหญ่"
ประชากรในกลุ่มเจนซี (Gen Z) ทั่วโลกได้แสดงให้เห็นแล้วว่ามีคะแนนสภาวะจิตใจต่ำที่สุด (62/100) เมื่อเทียบกับประชากรยุคเงียบซึ่งมีคะแนน (70/100) ดังนั้น สิ่งนี้อาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสถานการณ์สุขภาพจิตทั่วโลกในอนาคต"
Tomoko Koda ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ASICS กล่าวว่า "ASICS ก่อตั้งขึ้นจากความเชื่อว่ากีฬาและการออกกำลังกายไม่เพียงแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อจิตใจด้วย นี่คือเหตุผลที่เรามีชื่อว่า ASICS ซึ่งย่อมาจาก "Anima Sana in Corpore Sano" หรือ ‘Sound Mind in a Sound Body’ หรือ "การมีจิตใจแจ่มใสในร่างกายที่สมบูรณ์" นั่นเอง ผลลัพธ์จากการศึกษาสภาวะจิตใจทั่วโลกครั้งที่สองของเราแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายมีความสำคัญเพียงใดต่อคนยุคใหม่และส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างไรบ้างในอนาคต ที่ ASICS เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้ผู้คนเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อให้มีสุขภาพจิตที่ดีตลอดชีวิต"
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
https://www.asics.com/us/en-us/mk/stateofmindstudy2024
หมายเหตุสำหรับบรรณาธิการ
เกี่ยวกับการศึกษาด้านสภาวะจิตใจของ ASICS ปี 2024
การศึกษาด้านสภาวะจิตใจ ปี 2024 ดำเนินการระหว่าง 17 พฤศจิกายน – 21 ธันวาคม 2023 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกายและสภาวะจิตใจทั่วโลก
มีผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 26,000 คน จาก 22 ตลาด ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ชิลี จีน โคลอมเบีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อิตาลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ ซาอุดีอาระเบีย สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ สเปน สวีเดน ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างจากแต่ละตลาดเป็นตัวแทนประชากรในประเทศนั้น ๆ ตามช่วงอายุและเพศ
1คะแนนสภาวะจิตใจของ ASICS มีคะแนนเต็มอยู่ที่ 100 ซึ่งคำนวณจากการหาค่าเฉลี่ยคะแนนของคุณสมบัติด้านความคิดและอารมณ์สิบประการ ได้แก่ มองโลกในแง่บวก พอใจ ผ่อนคลาย มีสมาธิ ใจเย็น ยืดหยุ่น มั่นใจ ตื่นตัว สงบ มีพลังงาน
2การออกกำลังกาย 150 นาทีขึ้นไปต่อสัปดาห์ (ตามคำนิยามของ Sport England)
3การออกกำลังกายน้อยกว่า 30 นาทีต่อสัปดาห์ (ตามคำนิยามของ Sport England)
Anima Sana In Corpore Sano หมายถึง "A Sound Mind in a Sound Body" หรือ "การมีจิตใจแจ่มใสในร่างกายที่สมบูรณ์" เป็นวลีภาษาละตินที่ ASICS นำมาใช้ และเป็นจุดยืนพื้นฐานที่แบรนด์ยังคงยึดมั่น บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อกว่า 60 ปีก่อนโดย Kihachiro Onitsuka และปัจจุบันได้กลายเป็นผู้ออกแบบและผู้ผลิตรองเท้าวิ่งชั้นนำ ตลอดจนรองเท้ากีฬา เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่ www.asics.com
การออกแบบ Stripe ที่ด้านข้างของรองเท้า ASICS® เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ ASICS Corporation
สามารถดูภาพถ่ายที่ใช้ประกอบการประกาศนี้ได้ที่ http://www.globenewswire.com/NewsRoom/AttachmentNg/25d28040-7b04-44cb-a421-97418e91c297