เมืองโตรอนโต, Sept. 26, 2018 (GLOBE NEWSWIRE) -- ที่งานประชุมผู้สื่อข่าววันนี้ที่สมาคมนานาชาติเพื่อการศึกษาวิจัยโรคมะเร็งปอด (IASLC) ครั้งที่ 19 ซึ่งเป็นการประชุมสัมมนาระดับโลกด้านมะเร็งปอด (World Conference on Lung Cancer หรือ WCLC) ประธานร่วมของการประชุมสัมมนา แพทย์หญิง Andrea Bezjak จาก FRCPC วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ภาควิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาและนโยบายสุขภาพ ฝ่ายการจัดการและประเมิน ที่มหาวิทยาลัยโตรอนโต (University of Toronto) และพนักงานรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแพทย์ที่ศูนย์มะเร็งเจ้าฟ้าหญิงมากาเร็ต (Princess Margaret Cancer Centre) ได้สรุปหัวข้อการศึกษาวิจัยที่กว้างขวางที่นำเสนอในการประชุมสัมมนาในวันนี้ ตั้งแต่การค้นพบด้านการวิจัยทางคลินิกที่สำคัญ ไปจนถึงความแตกต่างด้านเพศที่มีผลต่อผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งปอด
การศึกษาวิจัย IMpower132 แสดงให้เห็นว่า การใช้ยาอะทีโซลิซูแม็บ (atezolizumab) ร่วมกับยาคาร์โบพลาติน (carboplatin) และยาเพมิเทรกเซด (pemetrexed) ทำให้ผู้ป่วยโรค NSCLC ชนิดไม่ใช่เซลล์สความัสระยะที่ 4 มีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น
เมื่อไม่นานมานี้ การค้นพบจากการศึกษาวิจัย IMpower132 ที่นำเสนอโดยแพทย์หญิง Vassiliki A. Papadimitrakopoulou หัวหน้าแผนกวิทยาเนื้องอกทรวงอกทางการแพทย์ที่ศูนย์มะเร็ง MD Anderson (MD Anderson Cancer Center) แสดงให้เห็นว่า การใช้ยาอะทีโซลิซูแม็บร่วมกับยาคาร์โบพลาตินสำหรับการรักษาในระยะแรก และยาเพมิเทรกเซดเป็นการรักษาประคองอาการ ช่วยทำให้อัตราการรอดชีวิตแบบโรคไม่ลุกลาม (Progression-free survival: PFS) สูงขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (NSCLC) ชนิดไม่ใช่เซลล์สความัสระยะที่ 4
แม้ว่าข้อมูลการรอดชีวิตยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ผลการทดลองในขั้นต้นนั้นแสดงให้เห็นว่า มีการรอดชีวิตโดยรวม (overall survival: OS) สูงขึ้นเมื่อรักษาด้วยยาทั้งสามอย่างร่วมกัน ผลลัพธ์เหล่านี้มีความสำคัญมากเนื่องจากแสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ย OS ในระดับต่ำที่ 12 เดือนตามผลลัพธ์ในอดีตนั้น พบว่า ตัวเลือกการรักษาด้วยวิธีรักษามาตรฐานในปัจจุบันนั้น สามารถทำให้ผลลัพธ์การรอดชีวิตโดยรวมดีขึ้น
Dr. Papadimitrakopoulou กล่าวว่า “การค้นพบที่ได้จาก IMpower132 แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มยาอะทีโซลิซูแม็บเข้ารักษาร่วมกับตัวยาหลักอย่าง ยาคาร์โบพลาตินและยาเพมิเทรกเซดที่เป็นเคมีบำบัดนั้น ให้ผลลัพธ์ประสิทธิภาพทางการรักษาที่ดีกว่าการใช้ยาคาร์โบพลาตินและยาเพมิเทรกเซดเพียงอย่างเดียว ... ทำให้เราได้ทางเลือกในการรักษาที่ช่วยยืดอายุการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรค NSCLC ชนิดไม่ใช่เซลล์สความัสระยะที่ 4”
สามารถอ่านข่าวเต็มได้ที่นี่
ยาเอ็นเทรคทินิบให้ผลการตอบสนองต่อยาที่มีนัยสำคัญทางคลินิกในโรค NSCLC ที่มีการกระจายตัว ROS1 เป็นบวกที่แพร่กระจายหรือลุกลามเฉพาะที่
ตามผลการวิจัยที่แสดงในวันนี้โดยนายแพทย์ Robert C. Doebele ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ของภาควิชาวิทยาเนื้องอกทางการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด (University of Colorado) การค้นพบเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่า ยาเอ็นเทรคทินิบชนิดรับประทานมีศักยภาพและเป็นตัวยับยั้งเอ็นไซม์ไทโรซินไคเนส ROS1/NTRK/ALK ชนิดเลือกเฉพาะ ทำให้มีการตอบสนองแบบทั่วร่างกายที่ทนนานที่มีนัยสำคัญทางคลินิกในผู้ป่วย ทั้งที่มีและไม่มีการแพร่กระจายไปยังระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system: CNS)
ผลลัพธ์ประกอบด้วยการวิเคราะห์แบบบูรณาการของการศึกษาทั้งสาม ALKA, STARTRK-1 และ STARTRK-2 และศึกษาในผู้ป่วย 53 ราย อัตราการตอบสนองต่อยาคือร้อยละ 77.4 โดยมีค่าเฉลี่ยช่วงเวลาการตอบสนองที่ 24.6 เดือน ค่าเฉลี่ยของการรอดชีวิตโดยโรคไม่ลุกลามอยู่ที่ 26.3 เดือนสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีการแพร่กระจายไป CNS และ 13.6 เดือนสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีการแพร่กระจายไป CNS ตามข้อมูลรายละเอียดความปลอดภัยยาที่จัดการได้พบว่า ผู้ป่วยสามารถทนต่อยายาเอ็นเทรคทินิบได้
Dr. Doebele กล่าวว่า “ข้อมูลดูน่าตื่นเต้นมาก ความหวังของเราคือ ยาเอ็นเทรคทินิบนั้นสามารถแทนที่ยาคริสออททินิบ (crizotinib) ได้ในการรักษาขั้นแรกของโรค NSCLC ที่มี ROS1 เป็นบวก”
สามารถอ่านข่าวเต็มได้ที่นี่
Dr. Lucy Kalanithi วิทยากรในพิธีเปิดที่ประชุมใหญ่ของการประชุมสัมมนาระดับโลกด้านมะเร็งปอด IASLC ที่พิจารณาถึงความร้ายแรงของอาการป่วยที่สามารถสร้างความเข้าใจที่สำคัญให้กับผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วย (HCP) ผู้ดูแลผู้ป่วย และผู้ป่วยได้
ความสำคัญของการเข้าใจในฐานะมืออาชีพและความเข้าในในฐานะส่วนบุคคลเมื่อทำงานกับอาการป่วยขั้นรุนแรง เช่น มะเร็งปอดนั้น เป็นหัวข้อที่ใช้เปิดในที่ประชุมใหญ่ในวันนี้ นั่นคือ “ผู้ป่วยต้องมาก่อน” วิทยากรแพทย์หญิง Lucy Kalanithi ได้นำเสนอแนวคิดคู่ที่เป็นเอกลักษณ์ในฐานะเป็นแพทย์และผู้ดูแลผู้ป่วยที่สูญเสียสามีตอนอายุน้อยด้วยโรคมะเร็งปอดในระยะที่ 4
Dr. Kalanithi กล่าวว่า “เมื่อคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่ทำงานกับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดขั้นรุนแรงที่ความท้าทายมากับโอกาสที่จะสามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการเพิ่มคุณค่าและการเข้าใจ ที่ไม่ใช่เพียงชีวิตของผู้ป่วยของคุณ แต่ยังรวมไปถึงชีวิตของคุณด้วย ความเชี่ยวชาญนี้ไม่ใช่เป็นเพียงอาชีพ แต่เป็นเหมือนเสียงเรียกขาน”
การนำเสนอเปิดตัวของ Dr. Kalanithi ที่ WCLC ในหัวข้อ เมื่อลมหายใจกลายเป็นอากาศ เธอได้เผยบันทึกความทรงจำของสามีของเธอที่ขายดีที่สุดอันดับหนึ่งใน New York Times ซึ่งเธอเขียนในปัจฉิมลิขิต
สามารถอ่านข่าวเต็มได้ที่นี่
การศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นถึงผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคมะเร็งปอดที่ไม่สูบบุหรี่ มีการรับสัมผัสมลพิษในอากาศภายนอกสูงกว่าผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคมะเร็งปอดที่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญ
การค้นพบจากการศึกษาวิจัยที่นำเสนอโดย Renelle L. Myers หน่วยงานด้านมะเร็งบริติชโคลัมเบีย (British Columbia Cancer Agency) ที่แวนคูเวอร์ แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยหญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อน มีอัตราการรับสัมผัสมลพิษในอากาศภายนอกสูงกว่าผู้ป่วยหญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดที่มีประวัติการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญ
ผลลัพธ์ของการศึกษาวิจัยแสดให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ยของการรับสัมผัสมลพิษในอากาศของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ไม่เคยสูบบุหรี่นั้น สูงกว่าของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดที่เคยสูบบุหรี่ถึงสองเท่า สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ป่วยที่ไม่เคยสูบบุหรี่ที่มีการรับสัมผัสอนุภาคสสารในอากาศโดยรอบสูงสุดคือผู้หญิงที่ร้อยละ 74
Myers กล่าวว่า “ผลลัพธ์ของการศึกษาวิจัยนี้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของมลพิษในอากาศภายนอกที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของมะเร็งปอดในผู้หญิง โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อน แม้ว่าการรับสัมผัสอนุภาคสสารในอากาศโดยรอบเป็นเวลานานมีความเกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงมะเร็งปอด ... ในปัจจุบันยังไม่มีโมเดลการทำนายความเสี่ยงด้วยการคัดกรองโรคมะเร็งปอดที่รวมเอาปัจจัยด้านมลพิษในอากาศให้เป็นปัจจัยแยกรวมอยู่ในการคำนวณด้วย”
สามารถอ่านข่าวเต็มได้ที่นี่
การศึกษาวิจัยที่นำเสนอใน WCLC พบว่าหญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กมีอายุยืนยาวกว่าชาย
ตามผลการศึกษาวิจัยของ SWO ที่ดำเนินการโดยแพทย์หญิง Kathy Albain ประธาน Huizenga Family Endowed Chair ในศูนย์วิจัยด้านเนื้องอกวิทยา ที่วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก โลโยลา (Loyola University Chicago Stritch School of Medicine) พบว่า ผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (NSCLC) นั้น มีชีวิตยืนยาวกว่าผู้ป่วยชาย
Dr. Albain และทีมงาน SWOG ได้ศึกษาวิจัยในผู้ป่วยจำนวน 981 รายที่ตรวจพบการวินิจฉัยพบโรค NSCLC ในระยะที่ 1, 2 หรือ 3 และทำการจัดกลุ่มผู้ป่วยเข้าสู่ 4 กลุ่มวิจัย โดยแบ่งตามเพศและประวัติการสูบบุหรี่ เมื่อไม่คำนึงถึงประวัติการสูบบุหรี่หรือปัจจัยอื่น ๆ ผู้ป่วยหญิงเข้าร่วมการทดลองมีอัตราการรอดชีวิตรวม (OS) สูงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยชาย ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ป่วยหญิงที่ไม่เคยสูบบุหรี่และผู้ป่วยหญิงที่เคยสูบบุหรี่มีค่า OS สูงกว่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยชายที่ไม่เคยสูบบุหรี่และผู้ป่วยชายที่เคยสูบบุหรี่
Dr. Albain กล่าวว่า “ผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรค NSCLC มีชีวิตที่ยืนยาวกว่า แม้เมื่อเราควบคุมทุกปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการรอดชีวิตใน NSCLC ซึ่งรวมถึง การสูบบุหรี่และการรับสัมผัสอื่น ๆ ปัจจัยด้านรูปแบบการใช้ชีวิต ระยะของโรค การรักษา ปัจจัยด้านชีวภาพเนื้องอกและฮอร์โมน ทั้งนี้ ต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อศึกษาอัตราการรอดชีวิตที่สูงกว่าในผู้ป่วยหญิงในประชากรกลุ่มนี้ต่อไป และการทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่ของเราจำเป็นต้องมีเทียบเท่ากันสำหรับผู้ป่วยหญิง”
สามารถอ่านข่าวเต็มได้ที่นี่
บริการการหยุดสูบบุหรี่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระหว่างการคัดครองผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด
การศึกษาวิจัยเมื่อไม่นานมานี้โดยนายแพทย์ William Evans ของ FRCPC ซึ่งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณที่ภาควิชาเนื้องอกวิทยา มหาวิทยาลัย McMaster (McMaster University) และที่ปรึกษาด้านคลินิกการหยุดสูบบุหรี่ ที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เมืองออนทาริโอ (Cancer Care Ontario) พบว่า บริการการหยุดสูบบุหรี่ (Smoking cessation services หรือ SCS) ที่เสนอในช่วงการคัดครองผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดนั้น ได้รับการยอมรับในอัตราที่สูงโดยผู้สูบบุหรี่
ในจำนวน 808 รายที่มีคุณสมบัติเข้าร่วมการคัดกรองผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ผู้ป่วยร้อยละ 63 ได้รับการระบุว่าเป็นผู้สูบบุหรี่อยู่ในปัจจุบัน และในจำนวนผู้สูบบุหรี่ปัจจุบันที่มีคุณสมบัติในการคัดกรอง มีจำนวนร้อยละ 89 ยอมรับการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกสูบบุหรี่ที่ดำเนินการในโรงพยาบาล และร้อยละ 88 ของจำนวนดังกล่าวที่มีค่าตรวจด้วยการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (TC) ขั้นพื้นฐานในปริมาณต่ำในช่วงรายงาน ได้เข้าร่วมในการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกสูบบุหรี่ที่ดำเนินการในโรงพยาบาล
Dr. Evans กล่าวว่า “การใช้โอกาสนี้เพื่อหารือเรื่องการหยุดสูบบุหรี่ของผู้ที่เข้าร่วมในโปรแกรมการคัดกรองนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แรงจูงใจในการเข้ามาร่วมในการคัดกรองของผู้ป่วย รวมกับแนวทางที่ผู้แนะแนวทางพยาบาลใช้นั้น ได้ช่วยทำให้โปรแกรมประสบความสำเร็จ โดยการใช้แนวทางด้านความรู้สึกร่วม เราสามารถช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ในปัจจุบันมีแหล่งทรัพยากรที่พวกเขาต้องการที่ช่วยลดการติดนิโคตินในบุหรี่ได้”
สามารถอ่านข่าวเต็มได้ที่นี่
สามารถดูการถ่ายทอดการจัดประชุมผู้สื่อข่าวประจำวันได้ที่นี่
เกี่ยวกับการประชุม WCLC
การประชุมสัมมนาระดับโลกด้านมะเร็งปอด (WCLC) เป็นงานประชุมที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่จัดขึ้นเพื่อมะเร็งปอดและมะเร็งทรวงอกอื่น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งดึงดูดนักวิจัย แพทย์ และผู้เชี่ยวชาญกว่า 7,000 คนจากกว่า 100 ประเทศ การประชุมนี้จะครอบคลุมถึงแนวทางการกำหนดระเบียบและเปิดเผยผลลัพธ์งานวิจัยและการทดลองทางคลินิก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่ http://wclc2018.iaslc.org/ ติดตามการประชุมสัมมนาผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วย: #WCLC2018
เกี่ยวกับ IASLC
สมาคมระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาโรคมะเร็งปอด (IASLC) เป็นองค์กรระดับโลกเพียงแห่งเดียวที่อุทิศตนเพื่อการศึกษาโรคมะเร็งปอดและมะเร็งทรวงอกอื่น ๆ ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี พ. ศ. 2517 สมาชิกของสมาคมประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งปอดมากกว่า 7,500 รายจากทั่วทุกสาขาวิชาในกว่า 100 ประเทศ ซึ่งได้สร้างเครือข่ายระดับโลกที่ทำงานร่วมกันเพื่อพิชิตโรคมะเร็งปอดและมะเร็งทรวงอกทั่วโลก นอกจากนี้ สมาคมยังตีพิมพ์วารสารJournal of Thoracic Oncology (วารสารมะเร็งวิทยาทางทรวงอก) ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ด้านการศึกษาและข้อมูลที่สำคัญสำหรับหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันตรวจหาวินิจฉัยและรักษามะเร็งทรวงอกทั้งหมด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่ www.iaslc.org นอกจากนี้ คุณสามารถติดตาม IASLC ได้ผ่านทาง Twitter, Facebook, LinkedIn และ Instagram
ติดต่อ:
รองประธาน
lrivero@jpa.com| +1 617-657-1305
, MSc
ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์
Becky.Bunn@IASLC.org | +1 720-254-9509